1. ประวัติตำบลหมากเขียบ
ตำบลหมากเขียบ แบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ในตำบลคือ ไทยอีสาน มีประเพณีที่สำคัญตามฮีตสิบสองครองสิบสี่ มีค่านิยม/ความเชื่อในเรื่อง บาปบุญ คุณโทษ ผีสาง เทวดา ซึ่งมีผลกระทบถึงการดำเนินการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร
แบบการตั้งถิ่นฐาน มีการตั้งถิ่นฐานเป็นกระจุกตามบริเวณที่ดอนและใกล้แหล่งทรัพยากร เช่นแหล่งน้ำป่าไม้ อยู่กันอย่างหนาแน่นและมีวัดเป็นองค์ประกอบชุมชน การสร้างบ้านเมืองจะมีพระเป็นผู้นำและร่วมอยู่ในพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับคำสอนของพระพุทธศาสนา และความเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อของชาวพุทธ ได้แก่การทำบุญ ชาติภพที่ผ่านมา นรก สวรรค์ บาป บุญ ผี สาง เทวดา
ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
การศึกษา ประชาชนร้อยละ 80 จบการศึกษาภาคบังคับ
ผู้นำ ประกอบด้วยผู้นำอย่างเป็นทางการ ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำด้านจิตวิญญาณ ได้แก่ หมอยา หมอสู่ขวัญ ผู้นำเครื่องจักรสานจากไม้ไผ่ เช่น กระบุง ตะกร้า กระด้ง ก่องข้าว สุ่มไก่ เครื่องทำการประมง เช่น ข้อง สุ่มจับปลา ลอบ ไซ ผู้นำการทอผ้าไหม เช่น ไหมมัดหมี่ ไหมหางกระรอก
การรวมกลุ่ม การรวมกลุ่มส่วนใหญ่เกิดจากการจัดตั้งของภาครัฐ และมีจำนวนมากมีความชัดเจนในการจัดตั้งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการเกษตร แต่ไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมด
2. สภาพทั่วไป
2.1 องค์การบริหารส่วนตำบลหมากเขียบ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่บ้านก้านเหลือง หมู่ที่ 9 ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
2.2 เนื้อที่ 22,406 ไร่ หรือ 46.26 ตารางกิโลเมตร
2.3 ภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม ป่าโปร่งสลับทุ่งนา เป็นดินร่วนปนทราย มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และมีที่สาธารณะ เนื้อที่ประมาณ 14,703 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
-
-
- ทิศเหนือ ติดเขตพื้นที่เขตตำบลหนองครก
- ทิศใต้ ติดเขตพื้นที่ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน
- ทิศตะวันออก ติดเขตพื้นที่เขตตำบลซำ ตำบลบ่อแก้ว
- ทิศตะวันตก ติดเขตพื้นที่ตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย
-
2.4 ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
2.5 จำนวนหมู่บ้านและจำนวนประชากร
หมู่ที่ | ชื่อบ้าน | ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน | หมู่ที่ | ชื่อบ้าน | ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน |
1 | หมากเขียบ | นายอดุลย์ มะณีย์ | 7 | หนองสิม | นายประสิทธิ์ศักดิ์ เงานอ |
2 | หนองหัวลิง | นายประหยัด เขียวพันธ์ | 8 | อีหล่ำ | นายประเสริฐ รัศมี |
3 | กลาง | นายปรีชา งามวิลัย | 9 | ก้านเหลือง | นายพันธ์ไชย จันทร |
4 | นาคำ | นายชูศักดิ์ แสนพันธ์ | 10 | อีหล่ำใต้ | นายเสมือน พรมสอน |
5 | ยางกุด | นายบุญธรรม บุญเจริญ | 11 | นิคมห้วยคล้า | นายสามารถ ทองมวล |
6 | ก้านเหลือง | นางจุฑาทิพ ทองพันชั่ง |
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวน ครัวเรือน | จำนวนประชากร | ||
ชาย (คน) | หญิง(คน) | รวม | |||
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 |
หมากเขียบ หนองหัวลิง กลาง นาคำ ยางกุด ก้านเหลือง. หนองสิม อีหล่ำ ก้านเหลือง อีหล่ำใต้ นิคมห้วยคล้า |
157 87 120 28 153 158 199 98 124 96 136 |
273 152 280 58 288 291 253 167 238 202 207 |
267 156 243 64 364 303 242 176 256 170 214 |
540 314 516 119 672 586 492 354 487 354 412 |
รวม | 1,356 | 2,409 | 2,455 | 4,864 |
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียนที่ทำการปกครองอำเภอเมืองศรีสะเกษ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
3. สภาพเศรษฐกิจ
3.1 อาชีพ
-
-
- อาชีพการเกษตร
- อาชีพรับจ้าง
- อาชีพค้าขายและรับราชการ
-
3.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
-
-
- โรงสี 10 แห่ง
- ร้านค้า 78 แห่ง
-
4. สภาพสังคม
4.1 การศึกษา
-
-
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 11 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
-
4.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
-
-
- วัด/สำนักสงฆ์ 9 แห่ง
-
4.3 การสาธารณสุข
-
-
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 1 แห่ง
-
5. การบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคม
-
-
- ถนนมีทั้งหมด 125 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 71 สาย
- ถนนลูกรัง 29 สาย
- ถนนดิน 18 สาย
- ถนนหินคลุก 5 สาย
- ถนนลาดยางแอสฟัลต์ 2 สาย
-
5.2 การโทรคมนาคม
-
-
- โทรศัพท์สาธารณะ 12 แห่ง
-
5.3 การไฟฟ้า
-
-
- มีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง 11 หมู่บ้าน
-
5.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
-
-
- ลำน้ำ, ลำห้วย 2 สาย
- บึง,หนอง 25 แห่ง
- ทำนบ 6 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 724 แห่ง
- ถังเก็บน้ำฝน 21 แห่ง
- บ่อบาดาล 15 แห่ง
-